สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต สนามบอลที่ถูกคัดให้แข่งบอลโลกจริงหรือไม่ ?

สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต

สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต สนามฟุตบอลที่มีความเป็นมาตรฐานสากล แบงค็อก ยูไนเต็ด สามารถบรรจุผู้ชมได้เยอะจึงถูกนำมาจัดกิจกรรมชั้นนำระดับประเทศมาแล้วหลายกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันกีฬาภายใน การแข่งขันกีฬาระดับอาเซียน รวมไปถึงยังถูกนำมาจัดกิจกรรมทางการเมืองในปี 2552 อีกด้วย

สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต ประวัติความเป็นมาที่น่ารู้ของสนาม

ความเป็นมาของ สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2541 ในสมัยนั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬามากมายหลายประเภทด้วยกัน อาทิ เฟสปิกเกม ครั้งที่ 7, เอเชียนเกม ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานคร, ราชมงคลเกม ครั้งที่ 31 ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และยังใช้เป็นสนามเจ้าภาพงานกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์วันที่ 10 ธันวาคม 2545 สนามแห่งนี้ได้ปรับปรุงในด้านการให้บริการ มีการก่อสร้างอัฒจรรย์เพิ่มเติมขึ้น และก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่มาใช้บริการ ปัจจุบันสนามแห่งนี้เป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอลชื่อดัง แบงค็อก ยูไนเต็ด อยู่ในการดูแลรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต

ข้อมูลจำเพาะของ สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต

สนามที่แฟนบอลชาวไทยรู้จักกันดี สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต มีที่ตั้งอยู่ที่ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นสนามกีฬากลางแจ้งที่มีขนาดใหญ่ บรรจุผู้ชมได้ทั้งหมด 20,000 ที่นั่ง ด้วยการเป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์จึงถูกจัดกิจกรรมหลายกิจกรรม เช่น เอเชียนเกมในปี 2541, เฟสปิกเกมปี 2542 และกิจกรรมทางการเมืองในปี 2552 ซึ่งในปัจจุบันเป็นสนามฟุตบอลทีมเหย้าชื่อดังในไทยลีกด้วยรู้กันไหม ? ว่าสนาม แบงค็อก ยูไนเต็ด ถูกจัดอยู่ใน 5 อันดับสนามฟุตบอลในประเทศไทยที่ได้รับคุณภาพผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติและสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) และที่สำคัญการแข่งขันฟุตบอลโลกประจำปี 2022 สนามฟุตบอลแห่งนี้ได้ถูกใช้เป็นสนามแข่งฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนเอเชีย เนื่องจากสนามราชมังคลากีฬาสถานกำลังปรับปรุงสนามอยู่ ซึ่งเกมแรกเราได้เล่นในบ้านพบเวียดนาม เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา

ข้อดีและข้อเสียของ สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต

ในย่านเมืองปทุมธานี สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต
แห่งนี้ขึ้นชื่อในเรื่องของความจุของสนามที่สามารถบรรจุผู้ชมได้เยอะ แต่นั้นไม่ใช่เพียงข้อดีทั้งหมดของสนามแห่งนี้ เรายังมีการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสนามแห่งนี้ว่ามีอะไรกันบ้าง มาติดตามกัน

  • รองรับการให้บริการหลากหลายประเภท อย่างที่เราได้แนะนำประวัติความเป็นมาไปในช่วงแรก สนามกีฬาแห่งนี้ถูกนำมาจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาหลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น รักบี้, ฟุตบอล, กรีฑา, กีฬาสานสัมพันธ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการจัดกิจกรรมทางการเมือง ตอบสนองความต้องการของผู้คนได้มากมายเลยทีเดียว
  • ระบบเสียงคุณภาพดี ระบบเสียง (Sound System) ภายในสนามมีมูลค่ากว่า 28 ล้านบาท มีการติดตั้งลำโพงทั้งหมด 2 ชุดไว้บนหลังคาอัฒจรรย์ โดยภายในลำโพง 1 ชุดนั้นก็จะมีลำโพงเล็กบรรจุอยู่ประมาณ 70-80 ตัว ทำให้ความสามารถในการแพร่กระจายของเสียงทำได้ดีเยี่ยม ได้ยินเสียงอย่างชัดเจน ไม่ว่าอยู่ในบริเวณไหนของสนามก็ตาม
  • สร้างความตื่นตาตื่นใจด้วยระบบไฟกระพริบ นอกจากระบบเสียงที่ชัดเจนทั่วถึงแล้ว ภายในสนามยังแฝงความน่ามหัศจรรย์อีกหนึ่งอย่างก็คือ โคมไฟที่ทำออกมาเป็นตัวหนังสือ ทำให้สามารถกระพริบได้ตามจังหวะเสียงเพลง โดยผ่านการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ลงทุนไปกว่า 45 ล้านบาท
  • ขาดใกล้ชิดกับนักกีฬา ซึ่งมันก็เป็นข้อเสียสำหรับสนามกีฬาที่มีลู่วิ่ง เพราะถึงแม้จะครบเครื่องเรื่องกีฬา แต่ด้วยระยะห่างระหว่างผู้ชมบนอัฒจรรย์กับสนามฟุตบอล ทำให้แฟนบอลนั้นขาดความใกล้ชิดกับนักเตะได้ เพราะแฟนบอลบางท่านอาจมีการยื่นมือมาสัมผัสนักเตะในดวงใจ
  • การจราจรติดขัด แน่นอนว่าด้วยความที่เป็นสนามกีฬาชื่อดัง จึงทำให้การสัญจรเต็มไปด้วยรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์จำนวนมาก ปัญหาการจราจรติดขัดก็ตามมา เราจึงอยากแนะนำการเดินทางให้กับผู้ที่มาใช้บริการว่าถ้าอยู่ในช่วงเทศกาลแข่งขัน เป็นไปได้เลือกใช้รถสาธารณะจะดีที่สุด

อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับข้อดีแล้ว สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต ก็ยังคงเป็นสนามกีฬาที่ดึงดูดให้ผู้ที่มาใช้บริการต้องประทับใจกับสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งมีให้อย่างครบครัน รวมไปถึงสโมสร แบงค็อก ยูไนเต็ด สโมสรชื่อดังของเมืองไทยที่มาสร้างสีสันให้กับผู้ชมอีกด้วย

สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต

สโมสรฟุตบอล แบงค็อก ยูไนเต็ด ในปัจจุบัน

นอกจากความน่าสนใจของ สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต อีกอย่างหนึ่งที่เป็นซิกเนเจอร์ของสนามที่พลาดไม่ได้เลยก็คือ สโมสรฟุตบอล แบงค็อก ยูไนเต็ด ที่ได้ปรับย้ายมาอยู่ในสนามนี้เมื่อปี 2559 ซึ่งในปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมทีมของ ชณิตา จันทรทรัพย์ ร่วมมือกับผู้ฝึกสอนชาวบราซิล เชื้อสายเยอรมันอย่าง อาเลชังดรี ปอลกิงโดยทีมได้มีการขยับตำแหน่งขึ้นจากท้ายตารางให้มาสู้ศึกในสามอันดับหัวของตารางได้ โดยฤดูกาล 2019 พวกเขาได้ทุ่มงบมหาศาลในการทำทำทีม เดินหน้าเสริมทัพแบบจัดหนักจัดเต็ม รวมทั้งการเสริมแข้งนักเตะมาเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับทีม หลังจากที่ Covid 19 ระบาดก็ทำให้พวกเขาต้องพักการเตะไปร่วม 6 เดือน เลยทีเดียว

ผลงานที่ผ่านมาของสโมสร แบงค็อก ยูไนเต็ด

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งทีมมาในปี 2531 ตั้งแต่ใช้ชื่อทีมว่า สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลังจากนั้นก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมา แล้ว 28 ปีต่อมา พวกเขาก็ได้ขยับขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุด ณ สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต พวกเขาผ่านช่วงเวลาอะไรกันมาบ้างไปติดตามกัน

  • ปี 2531 สโมสรฟุตบอลมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เริ่มต้นจากการเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วย พระราชทานประเภท ง. ก่อนจะสามารถเลื่อนระดับชั้นสู่ถ้วยพระราชทานประเภท ค. ในปี 2533 และไต่ลำดับขึ้นไปแข่งในถ้วยพระราชทาน ประเภท ข. ในปี 2534 เป็นลำดับต่อมา และก็ได้รางวัลชนะเลิศการแข่งขันถ้วยพระราชทาน ประเภท ข.ในปี 2543
  • ปี 2545 ในฤดูกาล 2545 สโมสรได้คว้าแชมป์ชนะเลิศฟุตบอลดิวิชั่น 1 ทำให้ได้เลื่อนชั้นขึ้นไปสู้ศึกในฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ครั้งที่ 8 ซึ่งนับว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงที่ดีที่สุดในครั้งแรกของสโมสรเลย นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสโมสรมา และถือเป็นทีมสโมสรมาจากมหาวิทยาลัยที่สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งขันในระดับลีกสูงสุดของประเทศไทยได้โดยมีนักฟุตบอลส่วนใหญ่ มาจากนักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยอยู่นั่นเอง
  • ปี 2559 ในปีนี้ทางทีมสโมสรแบงค็อกยูไนเต็ดได้ทำการปรับย้ายสนามเหย้าจากไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ไปอยู่ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต เนื่องจากทางสโมสรได้เล็งเห็นถึงความพร้อมของสนามที่มีครบทุกด้านและสามารถรองรับการแข่งขันฟุตบอลถ้วยระดับเอเชียได้
  • ปี 2560 ในฤดูกาลปี 2560 แข้งแบงค็อกอาจเริ่มต้นฤดูกาลได้ไม่ค่อยสวยเท่าไรนัก จากตกรอบ AFC Champions League ตั้งแต่รอบคัดเลือก ซึ่งส่งผลให้ความมั่นใจของนักเตะในทีมถูกบั่นทอนลง และยังส่งผลให้ฟอร์มการเล่นในศึกไทยลีกตกต่ำลงด้วย แต่ถึงอย่างไรก็ตามนักเตะทุกคนยังมีความรักและมีความสามัคคีต่อกันจนในที่สุดก็ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการฟุตบอลไทยด้วยการจบการแข่งขันในอันดับที่ 3 ของตาราง รวมถึงผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศช้าง เอฟเอ คัพ กับ เชียงราย ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงนับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรมา

สโมสรนี้นับว่าเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง จนเป็นที่นิยมของบรรดาแฟนบอล สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต อย่างล้นหลาม ที่สามารถไต่เต้าจากสโมสรที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักศึกษาจนกลายมาเป็น แบงค็อก ยูไนเต็ด ที่หลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดีสำหรับผู้ที่ต้องการจะเดินทางไปยัง สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต สามารถเดินทางโดย BTS มาลงสถานีอนุสาวรีย์หรือหมอชิต แล้วต่อรถตู้ไปธรรมศาสตร์ – จตุจักรก็ได้ สำหรับท่านที่ต้องการสอบถามวามารถสอบถามเบอร์โทรศัพท์ 02-564-4425 หรือติดตามข่าวสาร แบงค็อก ยูไนเต็ด ได้ที่เว็บไซต์ทางหน้าเว็บไซต์หรือทางเพจ True Bangkok United

สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต แบงค็อก ยูไนเต็ด สนามฟุตบอลของไทย สนามฟุตบอลประเทศไทย ประวัติสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต ข้อมูลติดต่อสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต ข้อมูลแบงค็อก ยูไนเต็ด ประวัติแบงค็อก ยูไนเต็ด ทีมฟุตบอลไทย