เอมิเรตส์สเตเดียม สนามฟุตบอลใหม่ที่ยิ่งใหญ่ของ อาร์เซนอล

เอมิเรตส์สเตเดียม

เอมิเรตส์สเตเดียม สนามกีฬาเอมิเรตส์ หรือสนามฟุตบอลเอมิเรตส์สเตเดียม คือ สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอล อาร์เซนอล ตั้งอยู่ที่เมืองแอชเบอร์ตันโกรฟ ฮอลโลเวย์ กรุงลอนดอนทางเขตเหนือ เปิดทำการแข่งขันครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2006 สนามแห่งนี้เป็นสนามแห่งแรกและแห่งเดียวในกรุงลอนดอนที่มีที่นั่งรอบสนามเป็นเก้าอี้ทั้งหมดจำนวน 60,355 ที่นั่ง เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ โดยมีสนามโอลด์แทรฟฟอร์ตใหญ่เป็นอันดับหนึ่ง แต่ความยิ่งใหญ่ของสนามยังเป็นรองสนามอีก 2 แห่งของกรุงลอนดอนที่ต้องยกให้ สนามเวมบลีย์เป็นที่ 1 และสนามทวิกเคนแฮม เป็นที่ 2 เดิมทีสนามนี้ชื่อว่าสนามแอชเบอร์ตันโกรฟ

เอมิเรตส์สเตเดียม ความเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่ของสนามฟุตบอลอาร์เซนอล

เอมิเรตส์สเตเดียม เพราะสายการบินเอมิเรตส์เป็นผู้สนับสนุนการก่อสร้างสนามรายใหญ่ จึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อตามสายการบินเมื่อ ตุลาคม 2004 เพื่อเป็นเกียรติและสายการบินเอมิเรตส์ผู้ให้การสนับสนุนการก่อสร้างที่มีมูลค่าถึง 430 ล้านปอนด์ สนามแห่งนี้เป็นสนามฟุตบอล อาร์เซนอล ที่ทันสมัยเนื่องจากมีหลังคาบนอัฒจันทน์ให้ผู้ชมรอบทั้ง 4 ทิศ ไม่เหมือนสนามอื่นที่มีเฉพาะด้านข้างเท่านั้น ส่วนด้านหลังประตูทั้งสองด้านไม่มี แต่สนามนี้มีโดยเว้นตรงกลางสนามซึ่งเป็นสนามหญ้าเอาไว้ให้เป็นไข่แดงโดยมีสถาปัตยกรรม HOK Sport เป็นต้นแบบในการก่อสร้าง รับผิดชอบโครงการโดยทางด้านวิศวกรรมโดยบริษัท Buro Happold มีผู้ควบคุมการก่อสร้าง ได้แก่ เซอร์ โรเบิร์ต แมคอัลไทน์ เป็นสนามใหญ่ที่อยู่หางจากสนามเดิมของอาร์เซนอลที่ชื่อไฮบิวรีเพียงไม่กี่ร้อยเมตร สนามใหม่นี้แบ่งผู้ชมออกเป็นสองส่วนส่วนแรกจุผู้ชมได้ 26,646 ที่นั่ง และส่วนที่สองจุได้ 24,425 ที่นั่ง โดยมีการจำหน่ายบัตรเข้าชมสำหรับผู้ใหญ่ราคา 32-66 ปอนด์ และสำหรับเด็กราคา 13 ปอนด์ แต่สำหรับการแข่งขันแมตซ์สำคัญ ๆ อาจมีการปรับราคาให้สูงขึ้นจากเดิมเป็น 46-94 ปอนด์ โดยเฉพาะการแข่งขันตามฤดูกาลบัตรเข้าชมอาจสูงถึง 885-1,825 ปอนด์ก็เป็นได้

ความน่าสนใจและประวัติของ เอมิเรตส์สเตเดียม

 เอมิเรตส์สเตเดียม

สำหรับอัฒจันทน์ระดับสโมสร เอมิเรตส์สเตเดียม จะเพิ่มราคาให้สูงขึ้นและยังมีชั้นบ๊อกซ์อีกต่างหาก ซึ่งสามารถจุผู้ชมได้ 7,139 ที่นั่ง ราคาชั้นบ๊อกซ์นี้จะอยู่ที่ 2,500-4,750 ปอนด์ขึ้นไป ในการแข่งขันฤดูกาลที่ผ่านมา แต่มีพิเศษที่ผู้ถือบัตรนี้สามารถที่จะเข้าชมเกมลีกในบ้านได้ทั้งหมดทุกนัด รวมถึงการแข่งขันยูฟ่าแชมป์เปียนลีก, เอฟเอคัฟ และคาร์ลิ่งคัฟ ซึ่งเป็นเกมที่ อาร์เซนอล เล่นในบ้านนั่นเอง แต่บัตรเข้าชมทุกใบก็จำหน่ายหมดล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนการเข่งขัน หรือประมาณเดือน พฤษภาคม

อนุสรณ์แห่งความทรงจำที่ได้ถูกจารึกไว้ที่ สนามเอมิเรตส์สเตเดียม

สำหรับคนอังกฤษแล้วฟุตบอลเป็นอะไรที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นประเทศที่ให้กำเนิดฟุตบอลสมัยใหม่ ช่วงเวลากว่าศตวรรษก็ต้องมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะสนาม เอมิเรตส์สเตเดียม นั้นมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นมากมาย ที่ทิ้งร่องรอยแห่งความทรงจำไว้ให้คนรุ่นหลังได้จดจำ เช่น
Ken Friar Bridge เป็นสะพานที่อาจเรียกได้ว่าเป็นตำนานแห่งความทรงจำของอาร์เซนอลตัวจริงก็ได้ เนื่องจากเป็นสะพานที่ข้ามจากด้านเหนือของสนาม เมื่อลงจากรถไฟใต้ดินที่สถานีอาร์เซนอล ซึ่งเป็นสถานีรถไฟใต้ดินที่มีชื่อเดียวกับสโมสรฟุตบอล แฟนบอลจะต้องเดินข้ามสะพานนี้เพื่อเข้าสู่สนาม เป็นชื่อที่ตั้งเป็นเกียรติแก่บุคลากรที่ทรงคุณค่าที่สุดตลอดกาลของอาร์เซนอล แต่เขาไม่ได้เป็นนักฟุตบอล ไม่ใช่ผู้ฝึกสอน และไม่ใช่แม้กระทังบุคคลในทีมสต๊าฟโค้ชปี 1945 เด็กชาบ Ken อายุ 12 ปีซึ่งกำลังเล่นฟุตบอลของเขาอยู่หน้าสนามไฮบัวรี ซึ่งเป็นสนามเหน้าเดิมของอาร์เซนอล บังเอิญลูกฟุตบอลที่เด็กชาย Ken ได้กลิ้งเข้าไปใต้ท้องรถที่จอดอยู่ เขาพยายามมุดเข้าไปเพื่อนำลูกบอลกลับมา มีชายผู้หนึ่งพูดว่า “เจ้าหนู นายกำลังทำอะไร” ซึ่งต่อมาได้ทราบว่าเขาคือ George Allison ซึ่งเป็นผู้จัดดารทีมอาร์เซนอลนั่นเอง เขาได้เรียกเด็กน้อยให้มาหา ในวันรุ่งขึ้น และเรื่องก็จบลงการจ้างให้เด็กน้อยเป็นผู้เดินเอกสารในวันที่มีการแข่งขันแมตซ์ใหญ่ ในขณะที่เขามีอายุเพียง 12 ปี โดยได้ค่าจ้าง 12.5 เพนนี่ต่ออาทิตย์ แต่โอกาสนี้คงไม่มากไปกว่าที่เด็กนั้นจะได้รับซึ่งก็คือการที่ได้ทำงานใกล้ชิดกับสโมสรฟุตบอลที่เขารัก กาลเวลาผ่านไปเด็กน้อยโตเป็นหนุ่ม เขาทิ้งอาชีพที่เป็นโบรคเกอร์ค้าหุ้นมาทำงานเต็มเวลาให้สโมสรโดยทำหน้าที่ดูแลเรื่องการจำหน่ายบัตรเข้าชม มีรายได้น้อยกว่าการเป็นโปรกเกอร์ แต่เขาก็มีความพยายามและเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งหลายครั้ง จากเด็กเดินเอกสาร เสมียน จนกระทั้งตำแหน่งล่าสุดเป็นถึงกรรมการผู้จัดการ เลชานุการ และบอร์ดบริหารสโมสรในปัจจุบัน การที่ใช้เวลากับอาร์เซนอลมาร่วมครึ่งชีวิต ได้ผ่านประสบการณ์ทั้งต่ำสุด และสูงสุดของสโมสรมามากมาย เขาจำได้ดีถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดแก่อาร์เซนอลมากมายในช่วงชีวิตซึ่งล้วนต้องมีชายผู้นี้ร่วมอยู่ด้วยเสมอ เขามีบทบาทมากโดยเฉพาะการเป็นตัวเชื่อมระหว่างสโมสรกับชุมชนรอบสนามและแฟนบอล โดยเฉพาะการซื้อขายนักเตะชื่อดัง ๆ ตัวเด่น ๆ ที่ผ่านมาหลายครั้งหลายหน โดยเฉพาะการก่อตั้งพรีเมียร์ลีก และการก่อสร้างสนามเหย้าแห่งใหม่นี้ด้วย ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา เรียกได้ว่าเขา เป็นตำนานตัวจริงทีเดียวแหละ ในที่สุดเมื่อการก่อสร้างสนามสำเร็จก็ได้อุทิศสะพานนี้ให้กับเขา พร้อมทั้งรูปปั้นขนาดเท่าตัวจริงเด็กวัย 12 ขวบที่ได้เจอกบ Allison ครั้งแรกที่หน้าสนามไฮบิวรี้ รูปปั้นนี้ได้ถูกนำมาไว้ที่หัสสะพาน นี่ก็คือเรื่องราวของเด็กชาย Ken Friar อดีตเด็กเดินเอกสารที่ได้กลายมาเป็นตำนานของสโมสรแห่งนี้ ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยลงไปสัมผัสเกมในสนามเลยแม่แต่ครั้งเดียวทุกสนามที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่ก็จะต้องเว้นพื้นที่สำหรับจาลึกความทรงจำดังกล่าวไว้ด้วย สนาม เอมิเรตส์สเตเดียม รังเหย้าของ อาร์เซนอล ก็เป็นหนึ่งของสนามที่ต้องมีอดีตไว้ด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะเพิ่งเปิดใช้งานเมื่อไม่นานแค่ปี 2006 นี้เองแต่ก็มีความทรงจำมากมายที่ได้นำมาจัดเอาไว้ให้ชมและให้ระลึกถึงเช่นกัน

เอมิเรตส์สเตเดียม

เรื่องราวเพิ่มเติมที่หลายคนต้องติดตามกับ เอมิเรตส์สเตเดียม

North Bank Terrance รอยสลักความทรงจำของแฟนบอล ไม่ไกลจากสะพาน Ken Friar มีพื้นที่หนึ่งที่มีสภาพคล้ายบันไดอัฒจันทน์ หรือถ้าดูผ่าน ๆ อาจคิดว่าเป็นที่นั่งสำหรับแฟนบอลที่กำลังรอเวลาสนามเปิด แต่จริง ๆ แล้วมันคือ North Bank Terrace ซึ่งประกอบด้วยแผ่นหิน ที่นำมาวางเรียงกัน เมื่อเข้าไปมองใกล้ ๆ ก็จะเห็นว่ามีข้อความสลักไว้บนแผ่นหินนั้นด้วยซึ่งเป็นข้อความที่แฟน ๆ สนามหลัก เอมิเรตส์สเตเดียม ของทีมฟุตบอลอันดับต้น อาร์เซนอล ได้ทำการสลักเอาไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความผูกพันของพวกเชากับทางสโมสรนั่นเอง หลายคนได้สลักชื่อตัวเองพร้อมข้อความไว้ด้วยทำนองว่าพวกเขานั้นมีความผูกพัน และรักใคร่สโมสรอย่างไร และขนาดไหน บางคนก็เปิดใจว่าได้เป็นสาวกของสโมสรมาตั้งแต่เมื่อไหร่ หินบางแผ่นก็มีข้อความของแฟนต่างถิ่นแม้ว่าจะอยู่ห่างไกลแต่ใจก็อยู่ที่สโมสร และสามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสโมสรได้โดยไม่จำกัด มีแผ่นหินบางแผ่นเหมือนกับว่าเป็นแผ่นหินหลุมฝังศพ ซึ่งสลักชื่อ วันเกิดและวันเสียชีวิตไว้ด้วย เปรียบเสมือนว่าแม้ตัวจะตายแต่จิตวิญญาณก็ยังอยู่กับสโมสรตลอดไป และชั่วนิจนิรันดร

ตำนานนักเตะกับเรื่องเล่าที่ประทับใจ ของแฟนบอล

ที่ปรากฏอยู่รอบสนาม เป็นที่สำหรับอุทิศให้เหล่าตำนานนักเตะคนสำคัญที่มีความผูกพันสำหรับแฟน ๆ ที่มีต่อพวกเขา มันเป็นเรื่องราวที่น่าประทับใจอย่างมาก และปรากฏอยู่ที่ฝาผนังด้านนอกของสนาม เอมิเรตส์สเตเดียม นับได้ตั้งแต่ทางด้านเหนือจรดด้านใต้ทีเดียว และสิ่งที่น่าสนใจของสนามนี้คือ
เรื่องเล่าและตำนานประวัติความเป็นมาที่ได้ใจแฟนบอลทั่วโลกผลงานและเกียรติประวัติที่อาร์เซนอลคว้ามาการพัฒนาและต่อเติมที่รวดเร็ว มีการปรับปรุงเสมอ
ซึ่งเรียกได้ว่า เอมิเรตส์สเตเดียม เป็นสนามหลักของทีม อาร์เซนอล ที่ได้ออกมาลงแข่งโชว์ผลงานเด่นมาเสมอเมื่ออยู่สนามนี้ บทสรุปสำหรับสนามเหย้า เอมิเรตส์สเตเดียม เรียกได้ว่าสามารถแยกแยะได้ว่าสนามใหม่แห่งนี้ของสโมสร อาร์เซนอล เป็นสนามที่ใหญ่เป็นอันดับสอง และทันสมัยที่สุดในพรีเมียร์ลีก เป็นสนามเหย้าของสโมสร ที่ใช้สำหรับการแข่งขันและการฝึกซ้อมของทีม มีเรื่องราวที่น่าประทับใจมากมาย เริ่มตั้งแต่เรื่องชื่อสนามที่พร้อมใจกันตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่สายการบินเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ในการก่อนสร้างสนามมาตั้งแต่แรก ในปี 2006

เอมิเรตส์สเตเดียม อาร์เซนอล ประวัติสนามเอมิเรตส์สเตเดียม สนามฟุตบอลเอมิเรตส์สเตเดียม ข้อมูลสนามฟุตบอลเอมิเรตส์สเตเดียม ประวัติสโมสรอาร์เซนอล ข้อมูลทีมอาร์เซนอล